ทำไมผมถึงเสีย ทำความเข้าใจ แล้วป้องกันซะ
หลายคนคงเคยประสบพบพานกับการมีผม แห้งเสีย ชี้ฟู มาก่อน แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจกระบวนการของการเกิดผมเสียอย่างแท้ทรู ถ้าเราเข้าใจกระบวนการเป็นอย่างดีแล้ว การป้องกัน และการดูแลรักษาผมเสียก็ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้
ก่อนจะไปไกล มารู้จักโครงสร้าง และพันธะเส้นผมกันก่อนเถอะค่ะ
โครงสร้างเส้นผม
- เกล็ดผม (Cuticle) เป็นโปรตีนที่มีลักษณะซ้อนกันอยู่เป็นวงรอบเส้นผมคล้ายเกล็ดปลาซ้อนกันประมาณ 8-10 ชั้น เกล็ดผมไม่มีสี เป็นเกร็ดใสๆ โปร่งแสงเหมือนกระจก ช่วยป้องกันการซึมผ่านของสิ่งสกปรกที่จะเข้าไปทำลายเส้นผม และยังปกป้องชั้นเนื้อผมไม่ให้สูญเสียความชุ่มชื้น,เม็ดสี รวมถึงน้ำมันตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้ผมดูเป็นเงา เกล็ดผมจะเปิดก็ต่อเมื่อมีความร้อน ความชื้น ทั้งจากธรรมชาติและเคมีบางตัวเข้ามาทำปฏิกิริยากับเส้นผม
- เนื้อผม (Cortex) เป็นแหล่งรวมของเม็ดสีเมลานิน โปรตีน เคราติน และเส้นใยโปรตีน (Polypeptide Bonds) ที่เกาะเกี่ยวกันกำหนดโครงสร้างตามธรรมชาติ ช่วยให้ผมมีความยืดหยุ่นแข็งแรง มีประมาณ 80% ของเส้นผม ดังนั้นการทำงานเคมีซึ่งต้องเปลี่ยนโครงสร้างและสีผม จึงต้องเข้ามาทำงานที่ชั้นนี้
- แกนผม (Medulla) แกนผมเกิดจากโปรตีน และไขมัน แกนผมไม่มีบทบาทในการทำงาน ส่วนมากจะพบในผมที่มีสภาพแข็งแรง และผมเส้นเล็กมักไม่มีแกนผม
พันธะในเส้นผม
- Hydrogen Bond มีจำนวนมากที่สุดถึง 1 ใน 3 ของ พันธะทั้งหมด ถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อน และการเปียกชื้น โดยสามารถกลับคืนสภาพได้เมื่อทำให้แห้ง และเย็นลง
- Salt Bond มีมากเป็นอันดับ 2 พันธะสามารถถูกทำลายได้ง่ายจากกระบวนการทางเคมี ที่ทำให้เกิดสภาพเป็นกรดสูง เช่น การกัดสีผม (Ph มากกว่า 7) สามารถคืนสภาพได้เมื่อค่า Ph เป็นปกติ (ค่า Ph ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ควรอยู่ที่ประมาณ 3.5 – 5.5)
- Disulphide Bond เป็นพันธะที่แข็งแรงที่สุด แต่มีจำนวนน้อยที่สุด ไม่ถูกทำลายจากความร้อน หรือการเปียกชื้น เป็นองค์ประกอบหลักในการให้ความแข็งแรง และทนทานของเส้นผม
ผมเสียได้ยังไง ตอนไหนล่ะ งั้น
- ก็ตอนที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และพันธะของเส้นผมอย่างโหดๆไงคะ
- อะไรที่ทำให้โครงสร้างของเส้นผมเปลี่ยนแปลง และพังทลายได้บ้างล่ะ
- การเซตผม ทรงผมหลุดโลก
- ทำสีผม
- การดัดผม
การเซตผม ทรงผมหลุดโลก
- ทรงผมบางประเภท ที่มีการผูกมัด ทำให้เกิดแรงกดดันไปยังโครงสร้างเส้นผมในชั้น เกล็ดผม (cuticle layer) และเนื้อผม (Cortex)
- เมื่อเวลาผ่านไป โครงสร้างเส้นผมจะฉีกขาด และทำให้เกิดการขาด หรือหักของเส้นผม
- เนื่องจากโครงสร้างของเส้นผมถูกทำลายไปแล้ว เมื่อปล่อยผมออกตามธรรมชาติ เส้นผมจะไม่คืนสภาพเหมือนก่อนทำแน่นอน
การทำสีผม
- กระบวนการทำสีผม จะต้องทำการเปลี่ยนเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในชั้น เนื้อผม (Cortex)
- ก่อนจะผ่านไปถึงชั้น Cortex ต้องทำการเปิดชั้นเกล็ดผมออกก่อน เพื่อให้เคมีสามารถแทรกผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยาได้
- Developer (ไฮโดรเยน) ที่อยู่ในสีผม นั้นจะทำให้ Bond ในเส้นผมแตกตัวออก เพื่อให้สีผมเข้าไปยึดเกาะกับ Bond ของเส้นผมในชั้น Cortex
- ขั้นตอนนี้เองที่เสี่ยงที่จะทำให้ผมเสียได้ เพราะเกล็ดผมถูกเปิด ออก และ Bond ในเส้นผมแตกตัว
- หากมีการทำทรีทเมนต์ หลังจากขั้นตอนทำสี เกล็ดผม และ Bond เส้นผม จะถูกซ่อมแซม และคืนสภาพอีกครั้ง
- ปัจจุบันมีทรีทเมนต์ที่ซ่อมแซมบอนด์ของเส้นผม และซ่อมแซมเกล็ดผมหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสภาพผมของแต่ละคน
การดัดผม
- กระบวนการของการดัดผมมักจะมีขั้นตอนในการให้ความร้อนพร้อมกับเคมี
- ขั้นตอนดังกล่าวทำให้เกิดการแตกตัว และเรียงตัวใหม่ของ Bond เส้นผมเกิดขึ้น
- Bond ของเส้นผมส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบคือ Salt Bond และ Disulphide Bond
- เมื่อเกิดการแตกตัว และคืนสภาพหลังการเรียงตัวใหม่ หาก Bond เส้นผมกลับมาเชื่อมต่อกันไม่ได้อย่างถูกต้อง ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ผมช๊อต ชี้ฟูพังพินาศนั่นเอง
- เช่นเดียวกับผมพังจากการทำสี เทคโนโลยีทรีทเมนต์สมัยใหม่สามารถซ่อมแซม Bond เส้นผมให้กลับคืนสภาพได้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด
เหยยยยยย แกร งั้นการทำทรีทเมนต์ก็สำคัญมากๆเลยอ่ะสิ!!!
- ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจะสำคัญขนาดนี้หรอกนะ นึกว่าช่างทำผมอยากให้จ่ายเงินเพิ่มเสียอีก
- จากที่เล่าให้ฟังก่อนหน้านี้ ก็น่าเข้าใจแล้วใช่ป่าวว่า การทำสี และการดัดผมเนี่ย มันส่งผลต่อโครงสร้างของเส้นผมเต็มๆ
- เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง Bond แล้ว ก็ต้องคืนสภาพให้ใกล้เคียงของเดิมที่สุด
- เมื่อเปิดเกล็ดผม หรือ cuticle layer แล้วก็ต้องปิดมันซะ
- ชัดๆเลยคือ หลังทำเคมี ไม่ว่าจะสี หรือดัด การทำทรีทเมนต์ก็จะช่วยให้ผมไม่เสีย จบ
จบมะ
จบ